วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ถั่วแดงรักษามดลูก-อาหารบำรุงช่องคลอด


สำหรับคุณผู้หญิงที่มักมีอาการปวดช่วงท้องน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการมีเลือดคั่ง ความเย็นสะสมอยู่รอบ ๆ สะดือ รังไข่ และมดลูก วิธีเยียวยาอาการดังกล่าวนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ




เรื่องราวดี ๆ ที่ กินดี นำมาฝากในวันนี้มีประโยชน์ เพียงนำถั่วแดง 500 กรัม บรรจุใส่ลงในถุงผ้าแล้วมัดปากถุงด้วยเชือกปอ ก่อนนำไปอบในไมโครเวฟระดับความร้อนปานกลางนาน 3-4 นาที

ก่อนนำถุงถั่วแดงไปประคบบริเวณท้องน้อย ให้คุณผู้หญิงใช้มือลูบไล้เบา ๆ ที่ผิวหนังซึ่งตรงกับรังไข่แล้วจึงประคบด้วยถุงถั่วแดง ก็จะสามารถบรรเทาอาการเลือดคั่ง ลดบวม และบรรเทาอาการอักเสบได้

สำหรับอาหารที่มีประโยชน์ช่วยรักษาอาการช่องคลอดอักเสบนั้น มีทั้งกระเทียมและกะหล่ำปลี มีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อโรคร้าย ส่วนหอมใหญ่กับผักกาดจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ขณะที่ผักกาดเกาหลีนั้นช่วยจัดการซ่อมแซมเยื่อบุผิว

ส้มและมะเขือเทศเป็นตัวเสริมวิตามิน แถมยังกระตุ้นการทำงานของเซลล์และชะลอความแก่ ผักดองและผงชูรสจะช่วยขจัดเชื้อยีสต์ที่ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย แต่ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ

และในทางตรงกันข้าม อาหารที่คุณผู้หญิงช่องคลอดอักเสบควรหลีกเลี่ยงนั้นคือ อาหารที่แปรรูปมาจากข้าวสาลี ขนมปัง เบียร์ ผลิตภัณฑ์จากนม ไอศกรีม มิลค์เชค และเนื้อสัตว์ เพราะจะทำให้อาการอักเสบทวีความรุนแรงขึ้น.

วิธีแก้อาการคอเคล็ด


ใครที่มีอาการคอเคล็ดบ่อยๆ วันนี้เรามีวิธีปฏิบัติมาบอก

บีบนวดคลายกล้ามเนื้อลงบนแนวของกล้ามเนื้อที่รู้สึกปวดเมื่อย หรือนอนราบ เพื่อให้กล้ามเนื้อคอได้พัก




ใช้กระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอที่เคล็ด ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที แล้วนวดเบาๆตรงบริเวณคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว

ใช้มือช่วยดันศีรษะไปในทิศทางที่เกิดอาการตึงช้าๆ จนรู้สึกตึงเล็กน้อย ดันค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง จนรู้สึกว่าอาการทุเลาลง

รับประทานยาจำพวกคลายกล้ามเนื้อ คลายเส้นประสาท เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น

วิธีง่ายๆลองทำดู.

กินปลาปิ้งจิ้มซีอิ๊ว ได้กรดโอเมก้า 3


นักวิจัยของสหรัฐฯพบว่า การกินปลาปิ้งหรือย่างจิ้มซีอิ๊ว แทนปลาทอด และชุบแป้งทอด เป็นอาหารบำรุงหัวใจ เพราะปลาไม่ว่าจะต้มหรือย่าง เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 มีคุณประโยชน์ช่วยปกป้องหัวใจ ยิ่งกินจิ้มกับซีอิ๊วที่ไม่เค็มจัด ร่วมกับเต้าหู้แบบคนเอเชียกินกันอยู่ยิ่งดีหนัก


บรรดานักวิจัยของอเมริกา ได้ศึกษาปริมาณการบริโภคกรดโอเมก้า-3 กับผู้ชายจากฮาไวอีและลอสแอนเจลิส ไม่น้อยกว่า 82,000 คน และผู้หญิงอีกเกือบ 104,000 คน พบว่า พวกเขาจะได้ปริมาณกรดโอเมก้า-3 ระหว่าง 0.8-3.0 กรัมต่อวัน ผู้ชายที่บริโภคมากกว่าจะเป็นประโยชน์ ลดความเสี่ยงที่จะตายด้วยโรคหัวใจได้น้อยลง ผู้ที่กินมากที่สุด จะหนีห่างความตายนั้นได้มากกว่าคนที่กินน้อยที่สุดถึงร้อยละ 23

นักวิทยาศาสตร์ยังได้ศึกษาถึงวิธีการกินปลาแบบต่างๆด้วย พบว่า ผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น และฮาไวอี จะกินปลามากกว่าคนผิวขาว ผิวดำและคนละติน ด้วยการปิ้งย่าง

อาจารย์ไลซิน เม้ง มหาวิทยาลัยฮาไวอีหัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า "ดูเหมือนว่าการกินปลาต้มหรือย่างกับซีอิ๊วที่มีโซเดียมต่ำ กับเต้าหู้ จะเป็นคุณ โดยที่การกินปลาทอด หรือปลาเค็มจะไม่ได้ผล อันที่จริงขึ้นอยู่ที่วิธีการปรุงให้สุก ซึ่งช่วยให้ลดความเสี่ยงลงได้เป็นสำคัญ เราไม่ได้เอาปลาต้มหรือย่างมาเทียบกับปลาทอดตัวต่อตัว แต่ใครที่ดูจากอัตราเสี่ยงก็บอกได้ว่าปลาต้มหรือย่างจะให้คุณทางด้านป้องกันมากกว่ากัน ไม่ใช่ปลาทอด"

เปลือกแอปเปิ้ลมีสารต่อต้าน อนุมูลอิสระอุดม ป้องกัน มะเร็งไส้ใหญ่


มีสารฟลาโวนอยด์สูง มันทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษ มีอยู่อย่างอุดมในเปลือกของแอปเปิ้ล ช่วยป้องกันโมเลกุลหรืออนุมูลอิสระไม่ให้ทำอันตรายเนื้อเยื่อ...

นักวิทยาศาสตร์โปแลนด์พบอีกว่า หากกินแอปเปิ้ล ผลไม้ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าบำรุงสุขภาพ ให้ได้วันละหนึ่งลูก จะป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงได้




นักวิทยาศาสตร์โปแลนด์พบอีกว่า หากกินแอปเปิ้ล ผลไม้ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าบำรุงสุขภาพ ให้ได้วันละหนึ่งลูก จะป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงได้

วารสารวิชา "การป้องกันมะเร็งแห่งยุโรป" แจ้งว่า นักวิจัยได้ศึกษาโดยการให้คนไข้โรคมะเร็งชนิดนั้น กินแอปเปิ้ลประจำวันอาทิตย์ละ 9.5 หน ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ปรากฏว่าโรคสามารถพัฒนาไปได้น้อยลง คนไข้รายที่กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ลูก โรคจะทุเลาลงในอัตรา 0.65 ส่วนรายที่กินมากกว่านั้น ปรากฏว่า อันตรายของโรค จะลดลงได้ประมาณถึงครึ่ง

พวกเขาเชื่อว่าคุณสมบัติในด้านป้องกันของมัน คงมาจากการที่มีสารฟลาโวนอยด์สูง มันทำหน้าที่เป็นตัวล้างพิษ มีอยู่อย่างอุดมในเปลือกของแอปเปิ้ล ช่วยป้องกันโมเลกุลหรืออนุมูลอิสระไม่ให้ทำอันตรายเนื้อเยื่อ และยังยับยั้งอาการตั้งต้นของโรค และการเติบโตกับขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของเซลล์ด้วย

นักวิจัยยังได้แนะนำว่า เนื่องจากสารต่อต้านอนุมูลอิสระจะรวมกันอยู่ตามเปลือก มากกว่าในเนื้อถึง 5 เท่า ดังนั้น เวลากินจึงไม่ควรปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาดอย่างเดียวก็พอ.

ว่าด้วยเรื่องของ ‘โรค’ ร้อน!


ล่วงเข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ใครต่อใครไม่อยากพาตัวไปออกแดด หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง แต่สำหรับคนบางกลุ่มที่ต้องทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพท่ามกลางแสงแดด พึงรู้ไว้ว่า ร่างกายของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรคจากแดด หรือความร้อน ประกอบด้วย ตะคริวแดด เพลียแดด และลมแดด

เริ่มรู้จักกับ ตะคริวแดด อาการขั้นเบา แต่ก็นำความเจ็บปวดมายังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง ต้นขา ไหล่ และหลัง โดยเกิดจากการทำกิจกรมหรือออกกำลังกายกลางแดดจ้าเป็นระยะเวลานานจนมีเหงื่อออกมาก แต่ร่างกายกลับไม่ได้รับน้ำหรือเกลือแร่ทดแทนเหงื่อที่เสียไปในปริมาณที่เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการเกร็ง และเป็นตะคริว

ส่วนความอันตรายจากภัยร้อนที่หนักกว่าตะคริวแดด คือ เพลียแดด เพราะร่างกายสูญเสียน้ำมาก เหงื่อออกน้อยจนเกิดอาการปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเบาแต่เร็ว ผิวหนังเย็นและชื้น บางรายมีอาการตะคริวแดดร่วมด้วย

และอาการซึ่งอันตรายที่สุด สามารถทำให้เสียชีวิตได้ คือ ลมแดด หรือฮีทสโตรก อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะรู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนจัด เพ้อหรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง ช็อค ผิวหนังแห้งและร้อน ระดับความรู้สึกตัวจะลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก ไม่มีเหงื่อออก

สาเหตุที่ร่างกายเกิดภาวะฮีทสโตรกเป็นเพราะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ทัน และส่งน้ำไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้

สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิด 3 อาการที่มากับสภาพอากาศสุดร้อน นอกจากจะเป็นผู้ที่ออกไปอยู่กลางแจ้งแล้ว คนอ้วน ที่มีไขมัยเป็นฉนวนความร้อนทำให้ร่ายกายระบายความร้อนได้ช้า เด็กและคนชรา ที่ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จัดเป็นกลุ่มที่ควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เกลือแร่ เป็นพิเศษ